วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ต้นตะกู

Bur Flower Tree

ชื่ออื่นๆ : กรองประหยัน (ยะลา) กระทุ่มหรือกระทุ่มบก (กลาง, เหนือ)  กว๋าง (ลาว)          โกหว่า (ตรัง)  แคแสง (ชลบุรี, จันทบุรี)  ตะกู (กลาง, สุโขทัย)  ตะโกส้ม (ชลบุรี, ชัยภูมิ) ตะโกใหญ่ (ตราด) ตุ้มก้านซ้วง, ตุ้มก้านยาว, ตุ้มเนี่ยงและตุ้มหลวง (เหนือ)  ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ทุ่มพราย (ขอนแก่น) ปะแด๊ะ, เปอแด๊ะและสะพรั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ปาแย (มลายู-ปัตตานี)
ชื่อสามัญ : Bur-flower Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis Rich. ex Walp.
วงศ์ : Rubiaceae
ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ : ตะกู พบการกระจายพันธุ์อยู่ในช่วงเส้นรุ้งที่ 9-27 องศาเหนือ ตั้งแต่ประเทศเนปาล ไล่มาทางทิศตะวันออกจนถึงบังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา  พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลงไปจนถึงหมู่เกาะปาปัวนิวกินี ในประเทศไทยตะกูมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยพบที่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต
ลักษณะทั่วไป : ตะกู เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูง 16-27 เมตร  (สำหรับในประเทศไทย ต้นตะกูที่โตเต็มที่ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงเพียงอกประมาณ  280  ซม.  สูงประมาณ  27  เมตร)  เรือนยอดเป็นพุ่มกลม  กิ่งตั้งฉากกับลำต้น  ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาตรง มีการลิดกิ่งเองตามธรรมชาติ (บางถิ่นกำเนิดโดยเฉพาะในแถบประเทศอินเดีย ลำต้นจะไม่เปลาตรงเนื่องจากมีกิ่งขนาดใหญ่ การลิดกิ่งตามธรรมชาติมีน้อย) เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ  เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน  ใบเดี่ยวเรียงตัวตรงข้ามเป็นคู่ ๆ  ดอก ตะกูมีขนาดเล็กติดกันแน่นอยู่บนช่อดอกแบบ Head สีขาวปนเหลืองหรือสีส้ม กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็น  ช่อกลมเดี่ยวหรือเป็นกระจุกไม่เกิน  2 ช่อ  อยู่ตามปลายกิ่ง ผลตะกูเป็นผลเดี่ยวโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก ผลแก่มีสีเหลืองเข้ม ในผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมากบรรจุอยู่ภายใน ผลแก่เป็นอาหารของสัตว์ป่าจำพวกกวาง เก้ง และนก  ซึ่งสัตว์เหล่านี้ช่วยให้การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural Regeneration) ของไม้ตะกูเกิดขึ้นได้ง่าย เราจึงสามารถพบเห็นกลุ่มไม้ตะกูขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งๆที่บางแห่งอาจจะมองไม่เห็นแม่ไม้ในบริเวณข้างเคียงเลยก็ตาม
ฤดูการออกดอก :
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การตัดยอดปักชำ การต่อกิ่ง การติดตา  การเสียบยอด และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งการแตกหน่อหลังการตัดฟัน (Coppice System)
ข้อดีของพันธุ์ไม้ : ไม้ ตะกูถูกจัดให้อยู่ในประเภทไม้เนื้อแข็งปานกลางแต่ความทนทานตามธรรมชาติต่ำ ในด้านคุณสมบัติในการใช้งาน ทั้งการเลื่อย การไส การเจาะและการกลึง ทำได้ค่อนข้างง่าย ส่วนการยึดเหนี่ยวตะปูมีน้อย การขัดเงาทำได้ง่ายมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงกับไม้โตเร็วบางชนิด  เช่น  ยางพารา จำปาป่า กระถินเทพา และ ยูคาลิปตัส แล้ว ไม้ตะกูมีค่าความแข็งแรง ความเหนียวจากการเดาะและความแข็งต่ำที่สุด
                           ใช้ทำเครื่องเรือนราคาถูก ทำไม้รองยก (พาเลท)  ลังไม้ กล่อง ไม้อัด ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด แปรงลบกระดานและรองเท้า  อย่างไรก็ตาม การใช้งานลักษณะนี้จำเป็นต้องผ่านการบำบัดให้ทนทานต่อการทำลายของแมลง ปลวก มอด และเชื้อราเสียก่อนนำไปใช้งาน
                            ในท้องที่ภาคใต้นิยมใช้ทำคอกเลี้ยงสุกร การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ                           
ข้อแนะนำ : เนื้อไม้มีคุณภาพไม่ค่อยดีนักใช้ทำ คาน เสา เพดาน ไม้พื้น ไม่ได้ มีแมลงรบกวนมากกว่าจะโต และตลาดรับซื้อไม้ยังไม่ชัดเจนหากปลูกเชิงพาณิชย์
ข้อมูลอื่นๆ :

แหล่งที่มา : http://www.kasetporpeang.com , http://www.gotoknow.org/posts/288209

1 ความคิดเห็น :

  1. Best online slots casinos in 2021 - JDH Hub
    Slot Machines Online: The Best Online Slots. Online 논산 출장샵 casinos use software 울산광역 출장안마 provided 구미 출장마사지 by the most successful software providers. The 이천 출장샵 fact 남원 출장마사지 is, you will

    ตอบลบ

ขอเชิญเพื่อนๆแสดงความคิดเห็นของบทความได้เลยนะครับ