ชื่ออื่นๆ : หว้าขี้แพะ (เชียงราย)
ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cumini (L.) Skeels
วงศ์ : Myrtaceae
ถิ่นกำเนิด : อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร
ลักษณะทั่วไป : ลักษณะ ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร
ฤดูการออกดอก : ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายนการขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ข้อดีของพันธุ์ไม้ : เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม , เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย ,ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด , เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย
ข้อแนะนำ : หว้า เป็นไม้ยืนต้นที่ชอบน้ำ หากปลูกริมน้ำจะโตเร็ว แต่ต้นหว้าสามารถขึ้นได้ทุกที่หากมีการเอาใจใส่ รดน้ำ ให้ผ่านปีแรกไปได้ แต่เมื่อหว้าโตพอและติดลูกดกๆ ถ้าเก็บไม่หมด หรือไม่เก็บ ลูกก็จะล่วงลงมาที่พื้น ทำให้พื้นเต็มไปด้วยสีม่วงต้องเก็บกวาดทุกวัน หากเดินเหยียบจะสกปรก หรือเลอะรองเท้า
ข้อมูลอื่นๆ : เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี และเป็นต้นไม้ในพุทธประวัติแหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/หว้า , http://www.panmai.com/PvTree/tr_38.shtml , http://www.dhammajak.net
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
ขอเชิญเพื่อนๆแสดงความคิดเห็นของบทความได้เลยนะครับ