ชื่ออื่นๆ : กระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง),
ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia leucantha Kurz
วงศ์ : Leguminosa-Papilionoideae
ถิ่นกำเนิด : ในไทยทางภาคกลาง ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ต่างประเทศพบที่พม่าและลาว
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 18 - 20 เมตร เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอกเป็นพุ่มทึบ เปลือกสีเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดแล็ก ๆ ตื้น ๆ เนื้อไม้สีขาวอมน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลอมดำ ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนยาวอ่อนนิ่มคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่ ดอกช่อสีขาว แบบช่อกระจายแยกแขนง ยาวประมาณ 20ซม.ออกพร้อมใบอ่อน รูปดอกถั่วออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานคล้ายฝักมีด มีเปลือกแข็ง
ฤดูการออกดอก : มีนาคม - พฤษภาคม ฝักแก่ พฤษภาคม - สิงหาคม
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ควรนำเมล็ดแช่น้ำประมาณ 1 คืน ก่อนนำไปเพาะ เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 10 - 15 วัน
ข้อดีของพันธุ์ไม้ : เนื้อไม้และแก่นเมื่อตัดใหม่ๆ สีเทาอมม่วง เมื่อถูกอากาศนานๆ เข้า เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วงถึงน้ำตาลปนสีช็อกโกแลตเข้ม มีริ้วสีอ่อนและแก่กว่าสีพื้นสลับ เสี้ยนค่อนข้างตรง เนื้อละเอียดปานกลาง แข็ง เหนียว หนัก แข็งแรงทนทานดีมาก เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งและชักเงาได้ดี จึงนำมาใช้ในการก่อสร้าง ใช้ทำเครื่องเรือน และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสาเรือน ขื่อ รอด เพลา เกวียน เครื่องนอน ครก สาก ลูกหีบ ทำส่วนประกอบของกระบะรถยนต์ ทำกระสวยทอผ้า และไม้เท้า
ไม่พบรายงานสรรพคุณด้านสมุนไพรแต่อย่างใดข้อแนะนำ :
ข้อมูลอื่นๆ : สาธร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครราชสีมา
แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/สาธร_(พืช) , http://www.panmai.com/PvTree/tr_21.shtml
เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ
ตอบลบ