วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ต้นตะคร้อ

Ceylun Oak

ชื่ออื่นๆ : ตะคร้อ หมากค้อ(ตะวันออกเฉียงเหนือ) , ตะคร้อไข่ (กลาง) , ค้อ (กาญจนบุรี) , คอส้ม (เลย) , เคาะ (พิษณุโลก นครพนม)  มะเคาะ มะจ้อ มะโจ๊ก (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ :Ceylun Oak
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schleichera oleosa   (Lour.)Oken
วงศ์ : Sapindacae
การกระจายพันธุ์ : ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้      ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย  ต่างประเทศพบที่ศรีลังกา อินเดีย  ภูมิภาคอินโดจีน และอินโดนีเซีย
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้น   ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูง 10- 25 เมตร ส่วนมากต้นคดงอและเป็นปุ่มปม เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปทรงกรวยหรือรูปร่ม เปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นสะเก็ดหนาๆ  ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ขอบใบเป็นคลื่น  ดอกแบบดอกช่อ แยกแขนงออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง สีเหลืองอมเขียว  ผลทรงกลมหรือรูปไข่ ปลายแหลม แข็ง เมื่อสุกสีเหลือง
ฤดูการออกดอก : ออกดอก มี.ค- เม.ย. ออกผลเดือน มี.ค.- ก.ค
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ข้อดีของพันธุ์ไม้ :  ปลูกเพื่อให้ร่มเงาดี เพราะพุ่มใบทึบเหมสะสำหรับพื้นที่กว้าง      
           ด้านไม้ใช้สอย ลำต้นเนื้อแน่นเหนียวหนักทำสากตำข้าวดี,ใช้เลี้ยงครั่ง เมล็ดทำน้ำมัน(จุดประทีป) ,เปลือกใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาล เปลือกค้อผสมกับเปลือกก่อ ให้สีกากี
           ด้านอาหาร เปลือกต้นขูด เอาเนื้อเปลือกตำใส่มดแดง(เปลือกนางกินกับตำเหมี่ยงโค่น กินกับใบส้มกบ,ส้มลม ตำใส่เครื่องข่าตะไคร้ พริก) นำมารับประทานจิ้มเกลือหรือนำมาซั่ว ลูกที่หวานมากนำมากินกับข้าวได้ เปลือกผลส่วนก้นนำตำใส่เปลือก ผสมกับเนื้อ
           ด้านยา
                     เมล็ดกินได้ แต่อย่าเกิน3เม็ด เพราะจะเมา นำมาสกัดน้ำมัน
                    เปลือกใช้เปลือกนอก ขูดผสมเกลือ เป็นยารักษาสัตว์
                    เปลือกต้นแก้บิด,ท้องร่วง,มูกเลือด วิธีการ นำมาตำกิน รักษา บาดแผลสด จากของมีคม วิธีการนำเปลือกบริเวณลำต้นที่วัดความสูงตาม บาดแผลที่เกิด ขูดเปลือกค้อ นำมาผสมกับยาดำ(เส้นผม,ขนเพชร) แล้วนำมาพอกแผล
                     ใบ แก้ไข้โดย ขยี้ใบแก่กับน้ำนำมาเช็ดตัวห้ามเลือด ใช้ใบแก่เคี้ยวให้ละเอียดใส่แผลสด ปิดปากแผลไว้
                     เนื้อผลเป็นยาระบาย
                    รากใช้ถอนพิษ เช่น อยากหยุดเหล้า นำน้ำต้มรากมาผสมเหล้า และกินตอนเมา จะทำให้ไม่อยากกินอีกปริมาณการใช้ราก1กำมือผู้กิน เหล้า 1 ก๊ง
ข้อแนะนำ : ตะคร้อผลสีส้มเปรี้ยวอมหวาน ยำผสมพริกน้ำปลารสเด็ดเผ็ดจัดจ้าน แต่ห้ามรับประทานมาก เพราะเป็นยาระบาย
ข้อมูลอื่นๆ : ผลตะคร้อมีกรดอินทรีย์สูงและมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  สารสกัดจากเปลือกและลำต้นของต้นตะคร้อพบว่าสามารถลดการเกิดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการตายของเซลล์มะเร็ง , มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย , และการใช้นํ้ามันสกัด (Kusum oil or Macassar oil) จากเมล็ดตะคร้อ รักษาอาการคัน สิว แผลไหม้ เป็นนํ้ามันสำหรับนวดแก้การปวดไขข้อ , และยังพบว่านํ้าต้มเปลือกของต้นตะคร้อยังรักษาอาการปวดประจำเดือนอีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ขอเชิญเพื่อนๆแสดงความคิดเห็นของบทความได้เลยนะครับ