วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ต้นแคนา

Stereospermum serrulatua DC.

ชื่ออื่นๆ : แคนา แคป่า แคขาว แคเค็ตถวา(เชียงใหม่) แคทราย(นครราชสีมา) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ) แคภูฮ่อ(ลำปาง) แคยอดดำ(สุราษฎร์ธานี) แคยาว แคอาว(ปราจีนบุรี)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
วงศ์ : Bignoniaceae
การกระจายพันธุ์ : พม่า ลาว เวียดนาม ในประเทศไทยพบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง พบประปรายในป่าเบญจพรรณ พบบ่อยตามนาข้าวในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นประปรายบนก้านใบ ดอกเป็น ดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 2-10 ดอก บานทีละดอก กลิ่นหอม บานตอนกลางคืน รุ่งเช้าร่วง ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60เซนติเมตร พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณ
ฤดูการออกดอก : มีนาคมถึงมิถุนายน
การขยายพันธุ์ : เมล็ด ปักชำราก
ข้อดีของพันธุ์ไม้ : เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา กระดาน พื้น ฝาเพดาน ฯลฯ ทรงพุ่มใบและฝักสวย ปลูกให้ร่มเงาและเป็นจุดเด่นให้สวนได้ ดอกและยอดใช้ต้มจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม
                            สรรพคุณทางยา ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก ดอกมีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม ขับผายลม เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท แก้โรคชัก
ข้อแนะนำ : ดอก แคนาจะมีรสขมเฝื่อน กินสดๆไม่ได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ต้องนำไปลวกโดยใช้เวลาสั้นที่สุด และก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อน เพราะจะทำให้มีรสขมน้อยลง
ข้อมูลอื่นๆ : เมนูดอกแคนาลวก

แหล่งที่มา : http://www.phargarden.com , http://www.saunmitpranee.com , http://www.qsbg.org , http://www.baanmaha.com

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ขอเชิญเพื่อนๆแสดงความคิดเห็นของบทความได้เลยนะครับ